เลี้ยงปลาตาม..ฤดูกาลไทยแลนด์

ในบ้านเราที่รู้กัน หลักๆแล้วมีอยู่ 2 ฤดู คือ ร้อนและฝน ส่วนหน้าหนาวก็พึ่งจะเห็นปีที่ผ่านมา (2558) ซึ่งหนาวจนอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส งั้นมาดูกันแค่ 2 ฤดูนะครับ

photo-1414090803974-4ef3a0203288

            ฤดูร้อน

สำหรับฤดูนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ให้อาหารอัดกันกระจาย อ้วนล่ำ บึ้ก กันก็หน้านี้ละครับ เพียงแต่ควรละวังเรื่องเดียวคือ “น้ำ” ให้อาหารมากของเสียก็ต้องมากตาม ควรล้างกรองให้บ่อยขึ้น ล้นน้ำให้มากขึ้น เพราะการล้นคือการกำจัดของเสียที่ละลายอยู่ในน้ำได้ดีที่สุดและง่ายที่สุด แต่… อย่าลืมว่าล้นน้ำหน้าร้อน อันตรายอย่างยิ่งยวด เพราะหน้าร้อนน้ำแล้ง ทางประปาจึงหาแหล่งน้ำต่างๆมาในการทำน้ำประปา ซึ่งต้องปรับคุณภาพน้ำด้วย “คลอรีน” เพราะฉะนั้นควรจะดมกลิ่นก่อนล้นน้ำนะครับผม

 

photo-1434118489318-42a0e62c6235

             ฤดูฝน

สำหรับฤดูนี้เป็นฤดูที่ปลาน่าสงสาร ตำราเขาก็บอกว่า “ฝนตกงดอาหาร” ตามตำราละครับ เพราะฝนตกในแต่ละที รวมทั้งฝุ่น ผง สิ่งเจือปนในอากาศ และตัวฝนเองก็เป็นกรด ทำให้ค่า pH ในน้ำเปลี่ยนแปลง (สำหรับบ่อเล็กและตื้น) แต่ถ้าบ่อใหญ่และลึกค่า pH ในน้ำก็จะเปลี่ยนแปลงที่ผิวน้ำลึกลงมาระดับหนึ่งเท่านั้นและ pH ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงกะทันหันเท่าบ่อเล็กๆ และอีกอย่างก่อนฝนตก บริเวณรอบๆก็เกิดความกดอากาศต่ำ ซึ่งออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อย ซึ่งปลากินอาหาร ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อย แต่ถ้าฝนหยุดตกแล้วซักพัก แล้วเราออกมายืนแล้วรู้สึกสบายตัว นั่นก็ให้อาหารได้ปกติละครับ สุดท้ายนี้ข้อควรระวังในฤดูนี้ “คางคก” ศัตรูตัวฉกาจของนักเลี้ยงปลา ลงทีไรปลาแฉลบ ตัวแดง บลาๆ เพราะเจ้าคางคกนั้นเดินไปไหนมาไหน ลงโคลน มุดดิน ย่อมมีปริสิต แบคทีเรีย ติดมาก็ไม่แปลก สำหรับบทความนี้คงเท่านี้ก่อนนะครับ เจอกันในบทความหน้าครับ ^^
—————————–
มีคำถามเพิ่มเติมหรือพูดคุย เรื่องปลา ปลา..

เพิ่ม “หนอนบัณฑิต” เป็นเพื่อน กด Add Friends ได้เลยนะครับ 🙂

เพิ่มเพื่อน